เครื่องดื่มไทยโบราณ รสชาติใหม่ 4 รสอร่อย

 

เครื่องดื่มไทยโบราณ ชาเย็นปั่นพุดดิ้งเมล็ดเจีย เมนู ชาเย็นปั่นพุดดิ้งเมล็ดเจีย เพิ่มคุณค่าให้ชาเย็นปั่นด้วยพุดดิ้งเมล็ดเจีย ซูเปอร์ฟู้ดยอดนิยม ทั้งอร่อยและอิ่มท้องในคราเดียวกัน

วิธีทำ

1. แช่เมล็ดเจียในนมสดพักไว้ในตู้เย็นนาน 6 ชั่วโมงหรือข้ามคืน
2. ใส่ผงชาและน้ำลงในหม้อยกขึ้นตั้งไฟพอเดือด ปิดไฟพักไว้นาน 5 นาที จากนั้นกรองใบชาออกด้วยผ้าขาวบาง
3. เติมน้ำตาลและนมข้นหวาน 4 ช้อนโต๊ะ คนจนละลาย จากนั้นเติมนมข้นจืด
4. ปั่นน้ำแข็ง ชานม และนมข้นหวาน 2 ช้อนโต๊ะจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เทใส่แก้วที่เตรียมไว้รวดด้วยพุดดิ้งเมล็ดเจีย

: ควรแช่เมล็ดเจียในของเหลวอย่างน้อย 15 นาที ก่อนรับประทานเพื่อป้องกันอาการท้องอืด หากแช่นานกว่านี้เมล็ดเจียจะเหนียวข้นขึ้น

เมล็ดเจีย มีประโยชน์มากทั้งมีไฟเบอร์สูง มีแคลเซียมสูงช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง อีกทั้งยังให้สารอาหารอย่างกรดอะมิโน โฟเลต วิตามิน และอื่นๆ ซึ่งดีต่อสุขภาพ

 

เครื่องดื่มไทยโบราณ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพยอดนิยมเติมความสดชื่น

 

1. น้ำหล่อฮั้งก้วย  หล่อฮั้งก้วย เป็นสมุนไพรจีนที่มีรสหวานอยู่ในตัว ส่วนใหญ่เอามาทำน้ำหล่อฮั้งก้วยผสมกับเก๊กฮวยเพิ่มกลิ่นหอม และเติมน้ำตาลทรายนิดหน่อย

เครื่องดื่มไทยโบราณ

ส่วนผสม น้ำหล่อฮั้งก้วย
1.ผลหล่อฮั้งก้วย 2 ผล
2.น้ำเปล่า 1.5 ลิตร
3.ดอกเก๊กฮวยตากแห้ง 1 กำมือ (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
4.น้ำตาลทราย (ตามชอบ)

วิธีทำน้ำหล่อฮั้งก้วย
ล้างผลหล่อฮั้งก้วยให้สะอาดแล้วบิให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำไปแช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ 30 นาที
นำหม้อที่แช่หล่อฮั้งก้วยไปต้มด้วยไฟอ่อนประมาณ 30 นาที (ใส่ดอกเก๊กฮวยตากแห้งลงไปในขั้นตอนนี้เพื่อเพิ่มเติมกลิ่นหอม)

เติมน้ำตาลทรายลงไปตามชอบ พอครบเวลาปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็นเล็กน้อย นำไปกรองผ่านตะแกรงเอาเฉพาะน้ำ ตักใส่แก้ว เติมน้ำแข็ง (หรือดื่มแบบอุ่น ๆ ได้)

 

2. น้ำใบเตย ใบเตยนอกจากเอามาทำขนมแล้วยังเอามาทำน้ำใบเตยกลิ่นหอมได้ด้วย หรือจะแปลงร่างเป็นน้ำใบเตยใส่วุ้นก็อร่อยไปอีกแบบ

เครื่องดื่มไทยโบราณ

ส่วนผสม น้ำใบเตย
1.ใบเตยหอม
2.เกลือ เล็กน้อย
3.น้ำตาลทราย ปริมาณตามชอบ
4.น้ำเปล่า

วิธีทำน้ำใบเตย
ล้างใบเตยให้สะอาด หั่นเป็นท่อน ตั้งน้ำจนเดือด ใส่ใบเตยลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ จนเดือดและน้ำเปลี่ยนสี ตักเอาใบเตยออก ปิดเตา
ใส่น้ำตาลทรายและเกลือลงไปนิดหน่อย คนจนน้ำตาลละลาย ตักใส่แก้วน้ำแข็ง จัดเสิร์ฟ

 

3. น้ำกระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบ มีสรรพคุณขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ ใครอยากทำน้ำกระเจี๊ยบ แค่เอาดอกกระเจี๊ยบแห้งต้มกับพุทราจีน เติมเกลือและน้ำตาลตัดรส

เครื่องดื่มไทยโบราณ

1.ส่วนผสม น้ำกระเจี๊ยบ
2.ดอกกระเจี๊ยบแดงแห้ง 1 กำมือ
3.พุทราจีน 1 กำมือ
4.น้ำ 1-1.5 ลิตร
5.น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
6.เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำน้ำกระเจี๊ยบ
ล้างดอกกระเจี๊ยบแดงแห้งและพุทราจีนในน้ำสะอาด เอาเศษฝุ่นออก อย่าแช่น้ำนานเพราะจะทำให้เสียรสชาติและคุณค่าทางอาหาร ต้มน้ำจนเดือดแล้วใส่กระเจี๊ยบกับพุทราจีนลงไปต้ม เคี่ยวจนน้ำเริ่มเปลี่ยนสี เติมเกลือป่นและน้ำตาลทรายลงไป

คนผสมให้ละลาย (ชิมรสตามต้องการ) ยกลงกรองเอากากออก พักไว้จนเย็น เทใส่แก้ว เติมน้ำแข็ง พร้อมดื่ม หรือเทเก็บใส่ขวดแช่เย็นเก็บไว้ดื่ม

 

4. น้ำเก๊กฮวย เก๊กฮวย เป็นสมุนไพรช่วยดับร้อน ช่วยระบบย่อยอาหาร และลดความดันโลหิต การทำน้ำเก๊กฮวยมีแค่ดอกเก๊กฮวยแห้งและน้ำตาลทราย จะใส่ใบเตยเพิ่มความหอมด้วยก็ได้ค่ะ

เครื่องดื่มไทยโบราณ

1.ส่วนผสม น้ำเก๊กฮวย
2.ดอกเก๊กฮวยแห้ง 1 กำมือ
3.น้ำ 2 ลิตร
4.น้ำตาลทราย 500 กรัม
ใบเตย 10 ใบ

วิธีทำน้ำเก๊กฮวย
ต้มน้ำกับใบเตยจนเดือด ใส่ดอกเก๊กฮวยลงไปเคี่ยวสักพักใส่น้ำตาลทรายลงไปคนให้ละลาย รอจนเดือดอีกครั้ง ปิดไฟ พักไว้จนเย็น
พอน้ำเก๊กฮวยเริ่มอุ่นยกลงกรอง ตักใส่แก้วหรือบรรจุใส่ขวด

 

5. น้ำมะตูม ใครกำลังมองหาน้ำสมุนไพรช่วยขับลมหรือมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ มาลองทำน้ำมะตูม จับมะตูมแห้งไปย่างหรือคั่วไฟจนหอมแล้วเอาไปต้มจนน้ำเดือดและสีเปลี่ยน เติมน้ำตาลทรายลงไป

 

1.ส่วนผสม น้ำมะตูม
2.มะตูมแห้ง 5 ชิ้น
3.น้ำ 1 ลิตร
4.น้ำตาลทรายแดง 50 กรัม

วิธีทำน้ำมะตูม
นำมะตูมแห้งไปย่างไฟหรือคั่วในกระทะจนมีกลิ่นหอม เตรียมไว้ใส่น้ำลงในหม้อตามด้วยมะตูมที่ย่างไฟแล้วลงไปต้มด้วยไฟกลางจนน้ำเดือดและเริ่มเปลี่ยนสี ประมาณ 10-15 นาที

ใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปคนผสมจนละลายหมด เคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนน้ำเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ยกลงจากเตา กรองเอากากออก พักทิ้งไว้จนเย็นเทใส่แก้วที่มีน้ำแข็ง พร้อมดื่ม

 

ข้อดีและข้อแนะนำสำหรับน้ำสมุนไพรไทย

 

น้ำดื่มเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภูมิปัญญาพื้นบ้านไทยได้นำน้ำสมุนไพรมาเป็นเครื่องดื่มช่วยคลายร้อน
ดับกระหายและยังช่วยปรับธาตุบำรุงสุขภาพและป้องกันโรคหรืออาการเจ็บป่วยบางอย่างได้

 

เนื่องจากในน้ำสมุนไพรมีวิตามินและสารหลายชนิดที่มีฤทธิ์ในการป้องกันโรค น้ำสมุนไพรได้รับความนิยมมากขึ้นโดยมีการปรับประยุกต์นำผักและผลไม้ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยมีการเลือกดื่มน้ำสมุนไพร ดังนี้

 

1. น้ำสมุนไพรแบ่งธาตุเจ้าเรือน คนธาตุดิน ควรรับประทานอาหารรสฝาด หวาน มัน เค็ม น้ำสมุนไพรที่เหมาะกับคนธาตุดิน คือ
รสฝาด เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะตูม น้ำกระท้อน น้ำมะกอก น้ำมะขามป้อม น้ำลูกหว้า รสหวาน เช่น น้ำแตงโม น้ำมะละกอ น้ำกล้วยหอม น้ำขนุน น้ำเงาะ น้ำน้อยหน่า น้ำละมุดฝรั่งน้ำลำไย น้ำอ้อยรสมัน เช่น น้ำกระจับ น้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำแห้ว

 

2.คนธาตุน้ำ ควรรับประทานอาหารรสเปรี้ยว และขม น้ำสมุนไพรที่เหมาะสมกับคนธาตุน้ำ คือรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะขาม น้ำมะขาว น้ำกระเจี๊ยบแดง น้ำมะยม น้ำส้มโอ น้ำมะเขือเทศ น้ำสับปะรดน้ำส้ม น้ำลิ้นจี่ น้ำองุ่น น้ำชมพู่ น้ำสตอเบอรี่ น้ำมะปราง น้ำมะเฟือง
รสขม เช่น น้ำมะระขี้นก น้ำเห็ดหลินจือ น้ำใบบัวบก

 

3. คนธาตุลม ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน น้ำสมุนไพรที่เหมาะกับคนธาตุลม คือ น้ำกะเพราะแดง
น้ำขิง น้ำข่า น้ำตะไคร้ น้ำกานพลู

 

4 .คนธาตุไฟ ควรรับประทานอาหารรสขม หอมเย็น (สุขุม) และ จืด น้ำสมุนไพรที่เหมาะกับคนธาตุไฟ คือรสขม เช่น น้ำมะระขี้นก น้ำเห็ดหลินจืด น้ำใบบัวบกรสหอมเย็น

เช่น น้ำใบเตย น้ำลูกเดือย น้ำเม็ดแมงลัก น้ำแตงไทย น้ำมะพร้าว น้ำรากบัว น้ำลูกจากน้ำลูกตาลอ่อนรสจืด เช่น น้ำผักคะน้า น้ำผักตำลึง น้ำแตงกวา น้ำขึ้นฉ่าย น้ำดอกคำฝอย น้ำว่านหางจระเข้ น้ำผักกวางตุ้ง

 

น้ำสมุนไพรแบ่งตามช่วงเวลาอิทธิพลของกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงใน 1 วัน

 

จะทำให้เกิดการแปรปรวนของธาตุในร่างกาย และอาจก่อให้เกิดการเสียสมดุลได้ดังนี้
1. เวลา 06.00 – 10.00 น. และ เวลา 18.00 – 22.00 น. มักจะเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ น้ำสมุนไพรที่บำรุง
ร่างกายและปรับสมดุลของธาตุน้ำ ได้แก่ น้ำสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำมะขาม เป็นต้น

 

2. เวลา 10.00 – 14.00 น. และ เวลา 22.00 – 02.00 น. มักจะเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ น้ำสมุนไพรที่ช่วย
บำรุงร่างกายและปรับสมดุลธาตุไฟ ได้แก่ น้ำสมุนไพรที่มีรสขม เช่น น้ำใบบัวบก น้ำมะระขี้นก เป็นต้น

 

3. เวลา 14.00 – 18.00 น. และ เวลา 02.00 – 06.00 น. มักจะเจ็บป่วยด้วยธาตุลม น้ำสมุนไพรที่ช่วย
บำรุงร่างกายและปรับสมดุลธาตุลม ได้แก่ น้ำสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน ได้แก่ น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำมะตูม เป็นต้น

 

คุณค่าและประโยชน์ของน้ำสมุนไพรน้ำสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติอร่อยตามธรรมชาติ สามารถเตรียมเองได้โดยใช้พืชผักและผลไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามฤดูกาล การเตรียมน้ำสมุนไพรไว้ดื่มเองในครอบครัวช่วยประหยัด

 

ทำให้เราได้น้ำสมุนไพรที่สด สะอาดปลอดภัย อุดมไปด้วยสารอาหารวิตามิน และเกลือแร่ ซึ่งช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ช่วยระบาย อีกทั้งยังทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และบำรุงเส้นผมให้สวยงาม