อาหารไทยสี่ภาค อาหารประจำท้องถิ่น ความเป็นมาของอาหารไทยตั้งแต่แรกเริ่มจนมาถึงยุคปัจจุบัน

อาหารไทยสี่ภาค อาหารประจำท้องถิ่น อาหารไทย ถือเป็นอาหารประจำของชนชาติไทย ที่มีมาอย่างยาวนาน ด้วยการสั่งสมและถูกถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน จนทำให้เป็นเสมือนเอกลักษณ์ประจำชาติไทย และก็ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ ที่มีความสำคัญอย่างมากของประเทศไทย โดยอาหารไทยนั้นเป็นอาหารที่มีมาอย่างยาวนาน

โดยจุดกำเนิดของอาหารไทยนั้น เริ่มมาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทยตั้งแต่ในอดีต สมัยสุโขทัย และมีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันนี้ สำหรับอาหารไทยในสมัยสุโขทัยนั้น ด้วยหลักฐานจากศิลาจารึกและวรรณคดีที่สำคัญอย่าง ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ก็ได้มีการกล่าวถึงอาหารไทยในสมัยสุโขทัยเอาไว้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกันกับข้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา แต่ก็มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง

ในการปรุงอาหารก็ได้ปรากฏคำว่า แกง ซึ่งในไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ประวัติ อาหารไทย 4 ภาค ผัก ที่มีการกล่าวถึงในศิลาจารึกก็คือ แฟง แตง และน้ำเต้า ในส่วนของทางด้านอาหารหวาน ก็มีการใช้วัตถุดิบพื้นบ้านนำมารับประทานอย่างเช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ที่ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน

ต่อมาจะเป็นอาหารในสมัยอยุธยา สำหรับในสมัยนี้ถือได้ว่า เป็นยุคทองของไทยเนื่องจากว่า ได้มีการติดต่อกับชาวต่างชาติกันมากยิ่งขึ้น ทั้งชาวตะวันตกและชาวตะวันออก และจากบันทึกของชนชาวต่างประเทศก็ได้มีการระบุเอาไว้ว่า คนไทยนั้นนิยมกินอาหารกันแบบเรียบง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีปลาเป็นหลัก เมนูอาหารไทยยอดฮิต มีต้มมีแกง และก็ยังมีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร แต่ทว่าก็เป็นน้ำมันที่มาจากมะพร้าวและกะทิ มากกว่าน้ำมันที่มาจากสัตว์

และคนไทยในสมัยอยุธยานี้ ก็ยังรู้จักการถนอมอาหาร อย่างเช่น การนำปลาไปตากแห้ง หรือว่าการนำปลามาทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้มอย่างเช่น น้ำพริกกะปิ คนไทยในสมัยนี้ยังคงนิยมที่จะกินสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก และสัตว์ใหญ่ก็ยังคงไม่นิยมฆ่าเพื่อนำมาทำเป็นอาหาร อาหารไทยโบราณสมัยอยุธยา ในข้อมูลที่ได้มีการบันทึกเอาไว้ก็ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศมาประกอบอาหารอย่างเช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ

โดยส่วนใหญ่มีการคาดการณ์เอาไว้ ว่าเป็นการนำมาประกอบเพื่อดับกลิ่นคาวของปลา และจากหลักฐานการบันทึกข้อมูลของบาทหลวงชาวต่างชาติ ก็ได้มีการระบุเอาไว้ว่า อาหารของชาติต่างๆ เริ่มมีการเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์อย่างเช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส ส่วนทางด้านของอิทธิอาหารจีนเริ่มมีเข้ามามากขึ้น ในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ที่ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก

มาต่อกันด้วยอาหารจากสมัยธนบุรี โดยจากหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่ในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ อร่อยหลากหลายรสชาติกับอาหารไทย ประเภทของอาหารก็ยังคงจะมีความคล้ายคลึงกันกับในสมัยสุโขทัย มาจนถึงในสมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรี สำหรับเส้นทางอาหารไทยก็มีการเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งก็ได้มีการเพิ่มอาหารจีนเข้ามาเป็นอาหารประจำชาติ

มาต่อกันที่อาหารในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ยุค โดยยุคแรกนั้น อาหารไทยก็ยังคงมีลักษณะเดียวกันกับในสมัยธนบุรี แต่ทว่าก็มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ประเภท ซึ่งนั่นก็คืออาหารว่าง เช่น หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก อร่อยหลากหลายรสชาติกับอาหารไทย และเนื่องจากอาหารไทยในยุคนี้ ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น

จึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นอาหารไทยในที่สุด และนอกจากนี้ก็ยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบ อิสลาม มีการกินข้าวร่วมกันทั้ง แกง ต้ม คั่ว และยำ และนี่ก็ทำให้เห็นว่าอาหารไทยนั้น ได้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น อาหารไทยโบราณ และก็ยังได้เห็นถึงความประณีตในการปรุงรส กลิ่น และสีของอาหารไทย ในราชสำนักอีกด้วย สุดท้ายกับอาหารในสมัยรัตนโกสินทร์ยุคที่ 2 โดยในยุคนี้จะเริ่มต้นขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4

โดยประเทศไทยในสมัยนั้น ได้มีการพัฒนาอย่างมาก มีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ทำให้เริ่มมีการบันทึก ตำรับอาหารการกินของไทยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการบันทึกโดยการบอกเล่าจากทางเครือญาติ อาหารประจำท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งที่เป็นกับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ ร้านส้มตำเชียงใหม่เจ้าเด็ด เผ็ดซี๊ด

อาหารไทยสี่ภาค

อาหารไทยสี่ภาค อาหารภาคเหนือ อาหารของคนพื้นเมืองที่มีวัฒนธรรมการกินที่แตกต่างกัน

ภาคเหนือ ถือเป็นภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสลับกับทิวเขาทอดเป็นแนวยาวจากเหนือลงไปใต้ มีที่ราบระหว่างภูเขา อากาศหนาวเย็น ทำให้มีพืชพรรณที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ เช่น มะเขือส้ม ดอกงิ้ว พริกหนุ่ม มะแขว่น แหลบ อาหาร ภาคเหนือ 30 ชนิด แถมยังมีเขตแดนบางส่วนติดกับประเทศพม่า ทำให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรม อย่างเช่น แกงฮังเล ขนมจีนน้ำเงี้ยว หรือขนมจีนน้ำมะเขือส้ม (ชาวไทยใหญ่ ชาวเงี้ยว) ข้าวซอย (ชาวจีนฮ่อ)

สำหรับอาหารของทางภาคเหนือนั้น จะนิยมมีข้าวเหนียวซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารหลัก อาหารประจำท้องถิ่น และก็จะมีน้ำพริกต่างที่จะนิยมกินกันไม่ว่าจะเป็น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง หรือพวกแกงต่างๆเช่น แกงโฮะ แกงแค แกงฮังเล แกงหยวกกล้วย แกงบอน นอกจากนั้นก็ยังมี แหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่างๆ ซึ่งคนเหนือจะนิยมนำมารับประทานกัน สำหรับอาหารของทางภาคเหนือนั้น จะไม่นิยมใส่น้ำตาล

เนื่องจากความหวานที่ได้นั้น จะมาจากส่วนผสมที่นำมาทำอาหารอย่างเช่น ความหวานจากผัก จากปลา อาหารภาคเหนือง่ายๆ ไขมันก็จะได้มาจากน้ำมันของสัตว์ ซึ่งสัตว์ที่นิมนำมาประกอบอาหารก็จะเป็นจำพวก หมู ไก่ เนื้อ และปลาน้ำจืด อร่อยหลากหลายรสชาติกับอาหารไทย ในส่วนของการรับประทานอาหารของคนภาคเหนือนั้น จะใช้โต๊ะข้าวที่เรียกว่าขันโตก ซึ่งจะนำมาแทนโต๊ะอาหาร โดยจะทำด้วยไม้รูปทรงกลมมีขาสูงพอที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก

อาหารไทยสี่ภาค อาหารภาคกลาง อาหารไทยที่มีความหลากหลายครบรสและเป็นที่รู้จักมากที่สุด

ภาคกลาง เป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ อาหารประจำท้องถิ่น ซึ่งถือได้ว่าภาคกลาง เป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสภาพทางภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนอง บึงมากมาย จึงทำให้ภาคกลาง เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศไทย เมนูอาหารพื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็นในด้าน เกษตรกรรม หรือปศุสัตว์ และในบางพื้นที่ของภาคกลาง ก็ยังมีบางส่วนที่ติดกับทะเล จึงทำให้ภาคกลาง มีวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารที่มีความหลากหลายมากมาย

สำหรับอาหารในภาคกลางนั้น เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรม จากหลากหลายเชื้อชาติได้แก่ จีน อินเดีย ลาง เขมร พม่า เวียดนาม อร่อยหลากหลายรสชาติกับอาหารไทย และประเทศจากชาติตะวันตก ที่เข้ามานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยอาหารภาคกลางจะมีความหลากหลายทั้งในด้านของการปรุง รสชาติ และการตกแต่งที่มีความแปลกตา อาหารภาคกลาง 5 ชนิด นอกจากนี้ก็ยังมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารจากภายในวัง ออกมาสู่สาธารณชนให้ได้รับรู้กัน

โดยคนไทยในภาคกลางส่วนใหญ่นั้น ก็จะกินข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง สำหรับรสชาติของอาหาร ก็ยังมีความโด่ดเด่นมากกว่าในภาคอื่นๆ เนื่องจากอาหารในภาคกลาง มีการผสมผสานรสชาติที่หลากหลาย ทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด อาหารประจำท้องถิ่น ซึ่งเอกลักษณ์ของรสชาติอาหาร ไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุงเพียงอย่างเดียว อร่อยหลากหลายรสชาติกับอาหารไทย สำหรับอาหารในภาคกลาง ถือเป็นภาคที่อาหารมีครบทุกรส และชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภคกันไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ผัดไทย พะแนง

อาหารภาคอีสาน อาหารที่ยืนหนึ่งเรื่องความอร่อย รสเด็ดแซ่บนัว

ภาคอีสาน เป็นภาคที่รสชาติอาหาร มีความโด่ดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ทั้งความเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสดและพริกแห้ง สำหรับอาหารจากภาคอีสานส่วนใหญ่จะมีลักษณะแห้ง เข้มข้น มีน้ำแบบขลุกขลิก และจะไม่นิยมใส่กะทิ อร่อยหลากหลายรสชาติกับอาหารไทย แต่ทว่าจะมีปลาร้า เป็นส่วนผสมหลักในเกือบทุกเมนู ซึ่งลักษณะการกินนั้นคนในพื้นที่ภาคอีสาน ส่วนมากจะนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก และผักที่หาได้ตามพื้นบ้าน ที่มีตามแต่ในช่วงฤดูกาล

สำหรับเมนูที่ขึ้นชื่อของอาหารภาคอีสาน ก็มีมากมายหลากหลายอย่างเช่น ส้มตำ ลาบ ซุปหน่อไม้ ไส้กรอกอีสาน ในส่วนของอาหารพื้นเมืองอีสาน จะมีวัตถุดิบหลากหลายชนิด ที่ไม่สามารถหาจากภาคอื่นๆได้ อาหารประจำท้องถิ่น และก็ยังไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมเท่าไหร่ อย่างเช่น ไข่มดแดง จิ้งหรีด ตั๊กแตน ดักแด้ แมงกุดจี่ ปูนา กบ เขียด อึ่ง แย้ งู หนูนา

อาหารภาคใต้ รสชาติเผ็ดร้อนจัดจ้านแบบไทยสไตล์ปักษ์ใต้

ภาคใต้ เป็นภาคที่อาหารมีรสชาติโดดเด่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากพื้นที่ทางภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางในการเดินเรือ เพื่อใช้ค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีน และชวาในอดีต ทำให้ร่องรอยทางวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารยังคงหลงเหลือให้ได้เห็นกันในปัจจุบัน อาหารประจำท้องถิ่น ที่สะท้อนออกมาในรูปของเมนูอาหารใต้มากมาย และด้วยความหลากหลายในเมนูอาหารทางใต้ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดียใต้ ทำให้มีตำรับอาหารใหม่มากมาย

ที่ล้วนผ่านกรรมวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่เป็นเอกลักษณ์โดยถ่ายทอดมารุ่นสู่รุ่น โดยสีของอาหารนั้นส่วนใหญ่ จะเป็นสีเหลืองจากสมุนไพรเครื่องเทศอย่างเช่น ขมิ้น รสชาติเค็มมาจากกะปิ อร่อยหลากหลายรสชาติกับอาหารไทย นอกจากนี้ยังมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้าน ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น สะตอ ลูกเหนียง ยอดกระถิน ในส่วนของเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหาร ส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้งหอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น ดูบอล